วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคฝุ่นหิน หรือโรคซิลิโคสิส

4.1 โรคซิลิโคสิส (Silicosis )
โรคปอดจากฝุ่นหิน  หรือซิลิโคสิส เป็นโรคปอดจากการทำงานที่มีสาเหตุจากการสูดหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าซึ่งส่วนมากจะพบในหินทรายเข้าไป
  ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
อาชีพที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ งานที่เกี่ยวข้องกับการตัดหิน สกัดหิน  โรงงานโม่บดย่อยหิน  อุตสาหกรรมทำแก้ว เซรามิก  ครก อุตสาหกรรมทำอิฐ กระเบื้องทนไฟ  วัตถุทนความร้อน เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
  อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ผลึกที่เป็นสาเหตุของโรคซิลิโคสิสมี 3 ชนิดคือ ควอทซ์ (Quarts) คริสโตแบไลท์ ( Cristobalite ) และทริไดไมท์ (Tridimite) ขนาดของฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคซิลิโคสิส  โดยเฉพาะฝุ่นที่ม็ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.055 µ ซึ่งสามารถเข้าไป  อยู่ในถุงลมปอดได้  โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกินและมีผลทำให้เกิดปฏิกริยาต่อเนื้อปอด  ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด  เมื่อยังคงหายใจเอาฝุ่ที่มีซิลิกอนไดออกไซด์ เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้นและการป้องกัน  การควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสียเป็นวงกว้างจนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ที่สัมผัสฝุ่นที่ซิลิกอนไดออกไซด์เป็นจำนวนสูงโดยไม่มีการป้องกัน
  อาการแบบเรื้อรัง เป็นลักษณะของโรคที่กล่วถึงโดยทั่วไป เกิดจ อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น