วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

อาชีพที่อยากเป็น

นักเทคนิคการแพทย์(medical technologist) 
     นักเทคนิคการแพทย์คือบุคคลที่ทำงานอยู่ภายในห้องแล็ปโดยนำสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ รวมถึงน้ำเจาะไขสันหลังด้วย โดยใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำผลการวิเคราะห์(พวกตรวจเลือด ไขมัน น้ำตาล นั้นแหละ)ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค การทำนายความรุนแรงของโรคและความผิดปกติ
 ผลการวิเคราะห์มีประโยชน์อย่างไร
    หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าผลการตรวจที่ได้มีประโยชน์อย่างไร ได้ช่วยเหลือคนไข้บ้างหรือไม่ มีความสำคัญแค่ไหน จะขอยก  ตัวอย่างง่ายๆละกันครับ

      -การตรวจสารเคมีในเลือด เช่น น้ำตาล ไขมัน >> ช่วยวินิจฉัยโรคว่าเป็นหรือไม่เป็นโ อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคลูคีเมีย


โรคลูคีเมียสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง 

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemias) 

          เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วย อ่านเพิ่มเติม

โรคผิวเผือก

โรคอัลบินิซึม (albinism) โรคอัลบินิซึม หรือโรคผิวเผือก เกิดจากยีนด้อย ที่มีอยู่ในพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถ สร้างเอนไซม์ เมลาโนโซท์ ไทโรซิเนส melamocyte tyrosinase ที่จะเปลี่ยนไทโรซีน ซึ่งเป็นโปรตีน สำคัญตัวหนึ่ง ไปเป็นเมลานิน melanin ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ แสดงลักษณะ เผือกคือ มีสีผิวขาว ผมขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตา สะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป การทดสอบทางพันธุกรรมภาวะผิวเผือก เกิดกับคนทุกเชื้อชาติ มีอัตราการ อ่านเพิ่มเติม 

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน
       เป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร

อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อ
ใช้เป็นพ อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคเลือดออกไหลไม่หยุด

โรคฮีโมฟีเลีย เลือดออกง่าย หยุดยาก (เดลินิวส์)
      ในคนปกติเมื่อเกิดอุบัติเหตุแขนขาถลอก หรือมีดบาดเพียงเล็กน้อยยังรู้สึกเจ็บปวด ยิ่งหากมีเลือดไหลออกมาด้วยก็ยิ่งเพิ่มความเจ็บปวดขึ้นไปอีก แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องทรมานกับอาการที่เรียกว่า โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก หรือ โรคฮีโมฟีเลีย ( Hemoplilia ) ซึ่งหากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอุบัติเหตุ หรือมีบาดแผลเกิดขึ้น พวกเขาไม่เพียงแต่จะเจ็บปวดมากกว่าคนปกติ แต่ทุกวินาทีที่มีเลือดไหลสำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียแล้ว นั่นอาจหมายถึง ความเป็นความตายของชีวิตเลยทีเดียว
       ข้อมูลจาก ศ.พญ.อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยโลหิตวิทยาและโรคมะเร็งในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลร อ่านเพิ่มเติม

โรคตาบอดสี

โรคตาบอดสี 
หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร
     ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิดแล้วให้สมองเราแปลภาพออก มาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วงเกิด จากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดงและเซลรับแสงสีน้ำเงินในระ ดับที่พอ ๆ กัน ซึ่งเ อ่านเพิ่มเติม

โรคที่เกิดจากพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม 
   หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้


     ทั้งนี้ โรคทางพันธุกรรม นี้ เป็นโรคติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดย โรคทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 2 ประการ คือ ความผิดปกติข อ่านเพิ่มเติม

โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
     ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
1.ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2.ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทยการบริโภคผักและผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรและแม่บ้านมีส อ่านเพิ่มเติม

โรคหอบหืด

โรคหืด หรือหอบหืด (asthma)
     โรคหอบหืด เมื่อปลายปีที่ผ่านมาหลายท่านคงได้ยินข่าวการเสียชีวิตของดาราหนุ่ม ออฟ - อภิชาติ พัวพิมล ที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหอบหืด ที่เป็นมาตั้งแต่เด็กๆ นอกจากนี้ดาราตลก ดี๋ ดอกมะดันยังคงนอนพักรักษาตัวในห้องไอซียู เนื่องมาจากถูกโรคหอบหืดกำเริบเล่นงานเช่นเดียวกัน
     โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ โดยสองในสามของผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีภาวะภูมิแพ้ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการไอในตอนเช้า และตอนกลางคืน คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 จากประชากรทั้งหมด ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยโรคหอบหืดประมาณ 3 ล้านคน เสียชีวิต 1,000 คนต่อปี กว่า 70% ของผู้เสียชีวิตเนื่องจากการเดินทางมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไ อ่านเพิ่มเติม

โรคปอดฝุ่นฝ้าย

โรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส 
พิษภัยทำป่วยจากสิ่งทอ
         โรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส หนึ่งในอันตรายของคนที่ทำงานหรือต้องสัมผัสกับสิ่งทอต่าง ๆ เป็นเวลานาน ไม่ใช่แค่หนุ่มสาวโรงงานเท่านั้น แม้แต่ช่างตัดเสื้อก็ยังเสี่ยง
          การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากจะต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ แล้ว การที่ต้องสัมผัสและสูดรับเอาฝุ่นละอองต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทุกวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งทอต่าง ๆ อาจป่วยด้วยโรคบิสสิโนสิส หรือ โรคปอดฝุ่นฝ้าย ได้เช่นกัน กระปุกดอทคอม ชวนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ พ อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคฝุ่นหิน หรือโรคซิลิโคสิส

4.1 โรคซิลิโคสิส (Silicosis )
โรคปอดจากฝุ่นหิน  หรือซิลิโคสิส เป็นโรคปอดจากการทำงานที่มีสาเหตุจากการสูดหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าซึ่งส่วนมากจะพบในหินทรายเข้าไป
  ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
อาชีพที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ งานที่เกี่ยวข้องกับการตัดหิน สกัดหิน  โรงงานโม่บดย่อยหิน  อุตสาหกรรมทำแก้ว เซรามิก  ครก อุตสาหกรรมทำอิฐ กระเบื้องทนไฟ  วัตถุทนความร้อน เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
  อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ผลึกที่เป็นสาเหตุของโรคซิลิโคสิสมี 3 ชนิดคือ ควอทซ์ (Quarts) คริสโตแบไลท์ ( Cristobalite ) และทริไดไมท์ (Tridimite) ขนาดของฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคซิลิโคสิส  โดยเฉพาะฝุ่นที่ม็ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.055 µ ซึ่งสามารถเข้าไป  อยู่ในถุงลมปอดได้  โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกินและมีผลทำให้เกิดปฏิกริยาต่อเนื้อปอด  ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด  เมื่อยังคงหายใจเอาฝุ่ที่มีซิลิกอนไดออกไซด์ เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้นและการป้องกัน  การควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสียเป็นวงกว้างจนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ที่สัมผัสฝุ่นที่ซิลิกอนไดออกไซด์เป็นจำนวนสูงโดยไม่มีการป้องกัน
  อาการแบบเรื้อรัง เป็นลักษณะของโรคที่กล่วถึงโดยทั่วไป เกิดจ อ่านเพิ่มเติม

โรคที่เกิดจาการประกอบอาชีพ

โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ

    การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
   1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โ อ่านเพิ่มเติม